Latest blog posts

3-latest-65px
  • Enter Slide 1 Title Here

    Woody Magazine is a free premium blogger template. This is free for both personal and commercial use. However, you are required to keep the footer links intact which provides due credit to its designers and authors.
    This is slide 1 description. Go to Edit HTML of your blogger blog. Find these sentences. You can replace these sentences with your own words.

  • Enter Slide 2 Title Here

    Woody Magazine is a free premium blogger template. This is free for both personal and commercial use. However, you are required to keep the footer links intact which provides due credit to its designers and authors.
    This is slide 2 description. Go to Edit HTML of your blogger blog. Find these sentences. You can replace these sentences with your own words.

  • Enter Slide 3 Title Here

    Woody Magazine is a free premium blogger template. This is free for both personal and commercial use. However, you are required to keep the footer links intact which provides due credit to its designers and authors.
    This is slide 3 description. Go to Edit HTML of your blogger blog. Find these sentences. You can replace these sentences with your own words.

  



วช. เชิญชวนเยาวชนหาความรู้ “NRCT Woodland ดินแดนแห่งป่า”

ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2565


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระดมองค์ความรู้ ไม้มีค่า ร่วมงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565”  เนรมิตสวนกลางกรุงชูแนวคิด “NRCT Woodland ดินแดนแห่งป่า” ให้ความรู้ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจของประเทศไทย และการวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนชุมชนไม้มีค่าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมเกมให้ความรู้และของที่ระลึกมากมาย งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-21 สิงหาคม 2565 ณ ฮอลล์ 9-10  ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี



ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลกำหนดให้ต้นไม้ยืนต้น มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ โดยรัฐบาลมีนโยบาย “ขยายผลชุมชนไม้มีค่าเพื่อเกษตรกรไทย” และได้มอบหมายให้ วช. และหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนชุมชนไม้มีค่า 




ร่วมผลักดันกลไกการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในเรื่อง การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับประชาชน  และเพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้ ป่าไม้ รู้จักไม้มีค่า ทั้งในแง่ของการอนุรักษ์และมูลค่าที่เกิดขึ้น  


วช. จึงได้ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565” ภายใต้ Theme หลักของงานคือ “ศิลปะ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Art – Science – Innovation for Sustainable Society)”  โดยบูธที่ วช. นำมาจัดจะเป็นการจำลองสภาพป่ามีชื่อ Theme ว่า “NRCT Woodland ดินแดนแห่งป่า”   มีทั้งภาคนิทรรศการที่ให้ความรู้ การเล่นเกม และกิจกรรมให้ลงมือทำ





 พร้อมกับการแจกของที่ระลึกสำหรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน คือ 


โซนที่ 1 ป่าไม้ของเรา ให้ความรู้ในการจำแนกกลุ่มไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยเกมต่อภาพ 


โซนที่ 2 ต้นไม้ของเรา ให้ความรู้ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในแต่ละภาคของประเทศไทยด้วยเกมโยนลูกเต๋า  


โซนที่ 3 ประโยชน์ของไม้มีค่า ให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยเกมหมุนป้ายให้ ชื่อภาพและประโยชน์ของไม้ประเภทนั้นให้ตรงกัน 


โซนที่ 4 โซนนั่งเล่น ให้ความรู้เรื่องโครงการชุมชนไม้มีค่าที่ วช. มีบทบาทในการขับเคลื่อนกลไก “การวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน” โดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนชุมชนไม้มีค่าของหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง  

โซนที่ 5 บ้านของเรา ให้ความรู้เรื่องการเริ่มปลูกต้นไม้ การขอพันธุ์กล้าไม้ และอื่นๆ พร้อมด้วยกิจกรรมประดิษฐ์บ้านไม้จิ๋ว โดยวิทยากร เพื่อเรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านงานไม้ การนำไม้เหลือใช้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยศิลปะการออกแบบตกแต่งงานไม้สำหรับเป็นของใช้หรือของแต่งบ้าน  



วช. จึงขอเชิญชวนเยาวชนที่สนใจจะเพิ่มพูนประสบการณ์ในรูปแบบเกมที่ให้ทั้งความสนุกสนานและความรู้ เข้าร่วมกิจกรรมในงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565 งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-21 สิงหาคม 2565 ณ ฮอลล์ 9-10  ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

สิงหาคม 12, 2565   Posted by yaipearn in with No comments
Read More




 


DITP เปิดโมเดล! ศูนย์กลางธุรกิจและแหล่งเศรษฐกิจของ South East Asia

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นำทีมบุกสิงคโปร์ ประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก กับกิจกรรม “Cross Border e-Commerce ขายออนไลน์สู่ตลาดสิงคโปร์” พร้อมยกทัพกูรูติดอาวุธทางการค้า ดันสินค้าไทยสู่ศูนย์กลางธุรกิจของ South East Asia โดยทูตพาณิชย์ และ ผู้นำเข้าชั้นนำจากประเทศสิงคโปร์ผ่านกิจกรรม Webinar และการเจรจาธุรกิจแบบตัวต่อตัว...ฟรี!!... ไม่มีค่าใช้จ่าย 




ภาครัฐและเอกชนผนึกกำลัง เจาะตลาดสิงคโปร์แบบ Exclusive เผยพฤติกรรมผู้บริโภคสิงคโปร์ทุก Generation ในยุคตลาดดิจิทัล และแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยผ่านช่องทางการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน โดย คุณสุปราณี ก้องเกียรติกมล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ และ คุณสุธิดา เงินหมื่น ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาธุรกิจและเครือข่ายดิจิทัล สำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมด้วยผู้นำเข้ารายใหญ่จากสิงคโปร์ ได้แก่ 1) Amazon Singapore เว็บไซต์ e-Commerce ชั้นนำของ สิงคโปร์ที่มีผู้เข้าชมมากกว่า 5 ล้านคนต่อเดือน 2) บริษัท Business Engineer Asia (Singapore) ผู้ให้บริการ Solution แบบครบวงจร สำหรับการทำธุรกิจ e-Commerce และเป็นพันธมิตรกับหลายแพลตฟอร์มดัง เช่น แพลตฟอร์ม Lazada RedMart, แพลตฟอร์ม NTUC Online และ แพลตฟอร์ม Food Panda เป็นต้น และ 3) แพลตฟอร์ม Doctor Anywhere สตาร์ทอัพเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ให้บริการทั้งบนแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ ที่ร่วมให้ข้อมูลแบบ Insight กับเทรนด์สินค้าสุดปังของสิงคโปร์ อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าแฟชั่น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ผลิตภัณฑ์ BCG และ Future Food

โดยกิจกรรมนี้ถือเป็นการต่อยอดจากความสำเร็จของ 5 กิจกรรมแรก ที่ได้จัดร่วมกับแพลตฟอร์ม Amazon Global Selling Thailand, PChome Thai, Klangone และ ผู้จัดการร้าน Thailand Food Country Tmall Official Store บนแพลตฟอร์ม Tmall รวมถึง Reach 360 Activation และ Bigbasket อีกด้วย

พิเศษสุด!!! สำหรับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม Webinar จะได้สิทธิ์ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาธุรกิจกับผู้นำเข้า สิงคโปร์ พร้อมมีบริการล่ามแปลภาษา ฟรี!!!

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิพิเศษ ตลอดจนโอกาสในการเจรจากับคู่ธุรกิจได้ที่ https://form.jotform.com/eventregister/webinarsingapore ภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับกิจกรรม Cross Border e-Commerce ขายออนไลน์สู่ตลาดโลก ยังมีอย่างต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายน 2565 ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ทาง www.facebook.com/ThaiTradedotcom หรือ โทร. 092-329-4466

สิงหาคม 10, 2565   Posted by yaipearn in with No comments
Read More

  





 วช.หนุนนวัตกรรมเตาเผาศพอัจฉริยะ เพื่อลดปริมาณสารก่อมะเร็งในอากาศ โชว์ผลงานในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ที่ผ่านมา



      เกิด แก่ เจ็บ ตาย นับว่าเป็นวิถีทางธรรมชาติของมนุษย์ แต่ละช่วงชีวิตก็มีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต มลพิษทางอากาศทุกวันนี้นอกจากจะมาจากปัญหาหมอกควันบนท้องถนน ปัญหาการเผาป่า และ จากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐานแล้ว ยังมีมลพิษที่เกิดจากเตาเผาศพของแต่ละวัด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ในตัวเมือง และ ย่านชุมชน ด้วยเหตุนี้ทำให้คณะทีมวิจัยจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมเตาเผาศพอัจฉริยะขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่ง (วช.) ซึ่งผลจากการทดลองพบว่ามีค่ามลพิษต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน



     ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมกับหน่วยงานในระบบวิจัยทั่วประเทศจัดมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 เมื่อวันที่ 1-5 สิงหาคมที่ผ่านมา ในภาคนิทรรศการได้นำผลงานวิจัยกว่า 700 ผลงานมาจัดแสดง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นนวัตกรรมที่โดดเด่น สามารถนำไปต่อยอด ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันรวมถึงเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ภายใต้สโลแกน “ วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน “

    พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญโญ ( กัติยัง), ผศ.ดร. อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อ พุทธนวัตกรรมและการยกระดับคุณภาพด้วยเตาเผาศพอัจฉริยะ เพื่อลดปริมาณสารก่อมะเร็ง ทั้งนี้เนื่องจากขณะทีมวิจัยได้เล็งเห็นว่ามลพิษที่เกิดจากเตาเผาศพสาเหตุสำคัญมาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ หรือ เตาเผาศพที่ไม่ได้มาตรฐาน จะเกิดฝุ่นละออง PM 2.5 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมไปถึงเขม่าควัน และสารไดออกซิน สารฟิวแรนส์ ที่ลอยตัวอยู่ในอากาศทำให้มีผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะโรคมะเร็ง คณะผู้วิจัยจึงได้มีการนำเทคโนโลยีจากคุณสมบัติของสารวิมุตติมาใช้กลั่นกรอง สกัดควันพิษในอากาศที่ลอยออกมาจากเตาเผาศพ เปลี่ยนจากควันดำเป็นควันขาว





   พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญโญ เปิดเผยว่า สารวิมุตติที่ว่านี้ได้มีผลการวิจัยมาแล้วจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ว่าสามารถลดควันพิษในอากาศ  เลยนำมาพัฒนาปรับใช้กับเตาเผาศพ โดยบรรจุเป็นชนิดผงและก้อน สำหรับการศึกษาวิจัยทดลองมี 2 ระยะด้วยกันคือ ระยะแรก ได้นำสารวิมุตติ มาใช้เผาศพในเตาสองหัวเผา รวมถึงการนำสารวิมุตติในรูปผ้าห่ม ผลทดลองพบว่า ทั้ง 2 วิธี วัดค่าสมมูลความเป็นพิษสากลต่อลูกบาศก์เมตรได้ค่าต่ำกว่ามาตรฐาน เมื่อเทียบกับการเผาศพแบบทั่วไปที่ไม่ได้ใช้สารวิมุตติ ปรากฎว่าวัดค่าสารไดออกซินได้สูงกว่า ส่วนการทดลองระยะที่ 2 ได้มีการออกแบบและพัฒนาเครื่องพ่นสารวิมุตติ และเตาเผาศพต้นแบบ ตั้งหัวพ่นสารวิมุตติจำนวน 6 หัว โดยใช้ระบบอัตราการไหลของลมเพื่อส่งสารวิมุตติเข้าสู่เตาเผาศพ ซึ่งผลการทดลองก็พบว่าการพ่นสารวิมุตติเข้าไปในเตาเผา ทำให้ช่วยลดค่าของสารไดออกซิน และสารฟิวแรนส์ จนทำให้ค่าควันพิษต่ำกว่ามาตรฐานเช่นกัน







     สำหรับค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการติดตั้งเครื่องส่งสารวิมุตติเข้าไปในเตาเผาต้นแบบอยู่ที่ประมาณ 3 แสนบาท ในอนาคตหากมีการพัฒนาขยายต่อยอดเครื่องส่งสารวิมุตติจำนวนมากยิ่งขึ้น เชื่อว่าราคาต้นทุนก็จะถูกลง และขณะนี้มีโครงการนำร่องนำไปติดตั้งแล้ว 2 วัดด้วยกันคือ วัดด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ และวัดพิรุณศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี

สิงหาคม 10, 2565   Posted by yaipearn in with No comments
Read More

 



เทคโนโลยีสุดล้ำนวัตกรรมหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ฝีมือจากทีมวิจัยจุฬาฯ หวังคืนคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต โชว์ผลงานในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ที่ผ่านมา


       ด้วยสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงพฤติกรรมการบริโภค เป็นปัจจัยสำคัญที่เสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ผู้ป่วยโรคดังกล่าวจำนวนมากเมื่อรักษาโรคแล้วมักจะมีอาการอัมพฤกษ์อัมพาต  แต่ละปีมีผู้ป่วยต้องการการฟื้นฟูมีแนวโน้มสูงขึ้น การฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยที่มีอาการอัมพฤกษ์อัมพาตก็ขึ้นอยู่กับอาการแต่ละคน ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูในระยะเริ่มต้นจะทำให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เป็นแรงจูงใจที่สำคัญทำให้เกิดนวัตกรรมหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
จากฝีมือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ของคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่นำมาแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ


       ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า วช. ร่วมกับภาคีเครือข่ายระบบวิจัยทั่วประเทศ ได้นำผลงานวิจัยกว่า 700 ผลงานมาแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นสามารถนำไปต่อยอด ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมถึงเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ภายใต้สโลแกน วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
  

    ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับทีมวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ สร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ เพื่อการฟื้นฟูสมรรถนะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์อัมพาต โรคพาร์กินสัน หรือผู้ป่วยที่มีอาการโรคทางระบบประสาท เสมือนเป็นนักกายภาพบำบัดหุ่นยนต์ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวัน เคลื่อนไหวร่างกาย แขน ขาแบบครบวงจร เป็นการออกแบบและจัดสร้างหุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในกิจกรรมการฟื้นฟูและกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูให้เร็วและบ่อยครั้งที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟู


      การใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของแขนหรือขาอ่อนแรง เป็นวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากใช้หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูช่วยให้ผู้ป่วยที่ยังมีการฟื้นตัวของประสาทสั่งการน้อย สามารถฝึกการใช้งานซ้ำ ๆ (repetition) ได้เป็นจำนวนครั้งที่มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการฝึกแบบดั้งเดิมซึ่งทักษะการใช้งานจะแปรผันตามจำนวนครั้งที่ฝึก ท่าทางการฝึกสามารถปรับเปลี่ยนได้สะดวก หุ่นยนต์จะช่วยผู้ป่วยเท่าที่จำเป็น (assist as needed) ให้ผู้ป่วยเคลื่อนที่ได้ ข้อมูลแรงที่หุ่นยนต์ช่วยและข้อมูลแรงที่ผู้ป่วยทำเองจะถูกบันทึกตลอดการฝึกเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ผลของการฝึกได้ อีกทั้งการมีระบบเกมที่มีหลากหลายรูปแบบ ทำให้การฝีกน่าสนใจ สนุกและท้าทาย ลักษณะดังกล่าวช่วยให้การฟื้นฟูมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้ป่วยมีการฟื้นตัวของประสาทสั่งการมากขึ้น

 การใช้หุ่นยนต์ที่มีระบบตรวจจับสัญญาณต่าง ๆ จะทำให้สามารถรับรู้ได้ถึงแรงตอบรับรวมทั้งตำแหน่งและความเร็วในการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ นำมาสู่การติดตั้งระบบติดตามพัฒนาการของผู้ใช้เฉพาะบุคคล (Patient Progression Supervising System) ซึ่งจะบันทึกและติดตามพัฒนาการของผู้ใช้แต่ละบุคคล และปรับเปลี่ยนลักษณะท่าทางการฟื้นฟู การเคลื่อนไหว รวมทั้งแรงที่หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นตามกำลังกล้ามเนื้อที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดช่วยการฝึก ระบบหุ่นยนต์ที่พัฒนาและผลิตขึ้นมานี้ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเครื่องมือแพทย์ ISO13485
    มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่บ่งบอกว่าการฟื้นฟูสมรรถนะของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยหุ่นยนต์นี้หากผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูเร็วที่สุดหลังจากรักษาอาการโรคหลอดเลือดสมองแล้วจะทำให้การฟื้นฟูให้ประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก จะมีโอกาสหายหรือดีขึ้น ถ้าเกินระยะเวลา 1 ปีไปแล้วการฟื้นฟูก็จะเป็นไปได้ยากขึ้น การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการฟื้นฟูจะช่วยลดภาระของนักกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดสามารถดูแลการฟื้นฟูได้หลายคนในเวลาเดียวกัน นอกจากนั้นระบบหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นยังสนับสนุนการนำหุ่นยนต์ไปช่วยในการฟื้นฟูที่บ้านได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้มีการนำร่องนำไปใช้ฟื้นฟูผู้ป่วยหลายที่ เช่น ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย, ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, แผนกเวชกรรมฟื้นฟู คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา, แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลกลาง, ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่, แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย, ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลชลบุรี, แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลหาดใหญ่, แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลราชวิถี และ แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลตากสิน เป็นต้น รวมทั้งการนำหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูที่บ้านของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน
สิงหาคม 10, 2565   Posted by yaipearn in with No comments
Read More

 



วช. ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ผลักดันงานวิจัย สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน


วันที่ 8 สิงหาคม 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) จัดอบรมระยะสั้น หลักสูตร “ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ”ภายใต้โครงการการพัฒนาองค์ความรู้และเครือข่ายบุคลากรวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดฯ และมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นผู้กล่าวต้อนรับฯ



ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้ อว. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ให้แก่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยในการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทั้งหมด 6 หลักสูตร 





เพื่อการถ่ายทอดความรู้ผ่านการฝึกอบรมแก่นักวิจัยนักวิชาการในทิศทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยวิจัยและนวัตกรรมที่มุ่งสู่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพผ่านการดำเนินงานร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย โดยจัดอบรมหลักสูตรทั้งหมด 6 หลักสูตร และได้จัดอบรมไปแล้ว 4 หลักสูตร คือ 1) “การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” 2) “การวิจัยด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม” 3) “การวิจัยด้านสังคมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” และ 4) “การวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ” ในวันนี้เป็นการอบรมหลักสูตรที่ 5 (EP5) “การวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ” ระหว่างวันที่ 8 - 10 สิงหาคม 2565 ซึ่งหลักสูตรนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก มีผลกระทบเป็นวงกว้างในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังส่งผลกระทบให้เกิดภัยพิบัติที่มีความรุนแรงในระยะหลังประเทศไทยได้มีการยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการประกาศว่าประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นการเสริมสร้างให้นักวิจัยเกิดความรู้ความเข้าใจถึงทิศทางการพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่สอดคล้องกับประเด็นตามยุทธศาสตร์ และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ รวมถึงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม 



ทั้งในระดับพื้นที่และภาพรวมของประเทศ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

และภัยพิบัติธรรมชาติ ตอบโจทย์ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ การอบรมมีทั้งหมด 6 หลักสูตร ประกอบด้วย 

1) หลักสูตรการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ

เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) หลักสูตรการวิจัยด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม 3) หลักสูตรการวิจัยด้านสังคมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4) หลักสูตรการวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ 5) หลักสูตรการวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ และ 6) หลักสูตรด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยจัดผ่านระบบ zoom meeting ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2565 โดยอบรมหลักสูตรละ 3  วัน ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้จากวิทยากรและนักวิชาการชั้นนำเกี่ยวกับนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม

ในระดับต่าง ๆ เกิดการสร้างเครือข่ายนักวิจัยงานวิจัยเชิงบูรณาการที่ได้รับการยอมรับในระดับเชิงพื้นที่สู่ระดับสากลนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป

สิงหาคม 08, 2565   Posted by yaipearn in with No comments
Read More

 




กลุ่มบริษัท มินีแบมิตซูมิ (ประเทศไทย) ร่วมกับ กรมป่าไม้ จัดกิจกรรม 
"40ปี มินีแบมิตซูมิ ร่วมใจ สร้างโลกใหม่ อย่างยั่งยืน"


กลุ่มบริษัท  มินีแบมิตซูมิ  (ประเทศไทย)  ครบรอบ 40 ปี ในการดำเนินกิจการในประเทศไทย จึงได้จัดกิจกรรมปลูกป่า ทำฝายน้ำล้น ได้ทำโครงการฟื้นฟูป่าสงวนแห่งชาติ ประกอบไปด้วยการปลูกต้นไม้ท้องถิ่น เช่น มะค่าโมง ประดู่ สัก ในพื้นที่รวม 500 ไร่ หรือประมาณ 100,000 ต้น 




ภายใต้ชื่อโครงการ "40 ปี มินีแบมิตซูมิ ร่วมใจ สร้างโลกใหม่ อย่างยั่งยืน" ณ ป่าสงวนแห่งชาติ 
ป่าวังเพลิง ป่าม่วงค่อม และป่าลำนารายณ์ ต.เขาแหลม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ในวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565 โดยมีผู้บริหาร และตัวแทนพนักงาน ร่วมทำกิจกรรมปลูกป่าในพื้นที่ 4 ไร่ และทำฝายน้ำล้น 
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ป่าไม้ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ 



ทำให้ระบบนิเวศน์ รวมถึงห่วงโซ่อาหารมีความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นส่วนสำคัญในการดูดซับ
ก๊าซเรือนกระจก อันส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ในสาขาป่าไม้ และพื้นที่สีเขียว (T-VER) เพื่อทำการรับรองคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ในอนาคต อีกทั้งกิจกรรมดังกล่าว
ยังเป็นการส่งเสริมให้พนักงานมีความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรอีกด้วย


ภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณชัยวัฒน์ ชัยวรรณจินดา ผู้จัดการฝ่ายอาชีวอนามัย 
ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท เอ็นเอ็มบี - มินีแบ ไทย จำกัด , 
คุณสุรพล  กลิ่นพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการปลูกป่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 




ภายในพิธี คุณชัยวัฒน์ ชัยวรรณจินดา ผู้จัดการฝ่ายอาชีวอนามัย 
ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท เอ็นเอ็มบี - มินีแบ ไทย จำกัด , 
ได้กล่าวรายงานโครงการต่อประธาน และ คุณสุรพล  กลิ่นพันธุ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการปลูกป่า สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 กล่าวรายละเอียดโครงการนี้ โดยท่านประธานในพิธี คุณสุนี เชิดชูชาติ Group Executive Officer, Director บริษัท เอ็นเอ็มบี - มินีแบ ไทย จำกัด กล่าวเปิดโครงการ 



"40 ปี มินีแบมิตซูมิ ร่วมใจ สร้างโลกใหม่ อย่างยั่งยืน"  คุณสุนี เชิดชูชาติ กล่าวว่า...จากการที่บริษัทฯ ได้มาสำรวจพื้นที่ โดยปรึกษาทางกรมป่าไม้ และผู้นำท้องถิ่นเข้ามาสำรวจ จึงลงความเห็นว่าเป็นพื้นที่
ที่เหมาะสมที่จะต้องบูรณาการ ให้มีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์เกิดขึ้น จำนวน 500 ไร่ จากการปลูกต้นไม้
ในพื้นที่ 500 ไร่นี้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 475 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี 





โดยรวมตลอดโครงการ 10 ปี พื้นที่ป่าที่ได้ร่วมกันทำกิจกรรมนี้ จะช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ป่า เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ระบบนิเวศน์รวมถึงห่วงโซ่อาหารที่อุดมสมบูรณ์ และยังเป็นส่วนสำคัญในการดูดซับก๊าซเรือนกระจกอันส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน


กลุ่มบริษัท มินีแบมิตซูมิ (ประเทศไทย) จะร่วมกับกรมป่าไม้ และผู้นำท้องถิ่น ในการดูแลต้นไม้ในโครงการครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมด้วยช่วยกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับประเทศไทย 
ให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และยั่งยืนตลอดไป









สิงหาคม 08, 2565   Posted by yaipearn in with No comments
Read More





 วช. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน Creative Economy ด้วยงานวิจัยเด่นปี 2565


สถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการขาดรายได้จากนักท่องเที่ยว รายได้กว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพีหายไป และโอกาสการฟื้นตัวอาจไม่ง่ายอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ Creative Economy หรือ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เป็นโฉมหน้าใหม่ของเศรษฐกิจที่อยู่บนแนวคิดที่ว่า ประเทศไทยมีต้นทุนทางวัฒนธรรมติดอันดับ 5-7 ของประเทศที่มีความร่ำรวยทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก 

     

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดเวทีเสวนาในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ที่ผ่านมา ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ในหัวข้อ “การสนับสนุนงานวิจัยด้าน Creative Economy ” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ.วช., ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.พีระพงศ์ ฑีฆสกุล จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยด้าน Creative Economy ตามนโยบายของรัฐบาล และ รมว.อว. ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อในการออกแบบและวางแผน และเป็นหนึ่งในกรอบงานวิจัยที่นำมาจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565  โดยสถาบันการศึกษาได้เลือกนำผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ที่มีความโดดเด่นทั้งในรายพื้นที่ โดยเฉพาะในเรื่องอาหาร มีงานวิจัยออกมาเป็นจำนวนมาก

  


“keyword คือ ความคิดในการสรรค์สร้างทุนทางวัฒนธรรมให้มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่ง วช. ได้ทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา โดยให้ความสำคัญวางเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ ววน. ปี 2563-2565 ทำให้เห็นผลสำเร็จ และยุทธศาสตร์ ววน. ปี 2566-2570 จะยกระดับงานทางสังคมไปสู่ความยั่งยืน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ จะเห็นว่าการใช้ประโยชน์จากผู้นำทางความคิดที่เป็นปราชญ์ ภูมิปัญญา ความรู้ ศิลปกรรม เป็นโจทย์ที่ท้าทายจึงนำไปสู่การส่งเสริมงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ตามที่ รมว. อว. มอบนโยบาย

   

ผลงานวิจัยด้าน Creative Economy ที่ วช. ให้ทุนสนับสนุน จะเป็นเรื่องของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งมีงานวิจัยเด่น ๆ อาทิ เทคนิคการออกแบบลาวพร่าเลือน ในงานไหมมัดหมี่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นงานที่ทำให้ผ้ามัดหมี่ มี อัตลักษณ์ เกิดลวดลายที่เป็นที่ต้องการของตลาด การอนุรักษ์งานศิลปกรรมที่นครศรีธรรมราช และที่ วช. ภาคภูมิใจ คือ งานวิจัยที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และทำให้องค์การยูเนสโก ประกาศให้เพชรบุรีเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของโลกซึ่งผลงานวิจัยนี้ถือเป็นต้นแบบของการประเมินโดยหน่วยงานระดับนานาชาติ เป็นการบ่งชี้ว่า ววน. เป็นส่วนสำคัญ ทำให้จังหวัดเพชรบุรีใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาทำงานร่วมกับ วช. เป็นความภาคภูมิใจที่เราได้ใช้งาน ววน. มาทำให้เกิด Creative Economy 

    


ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในอนาคต Creative Economy จะมีความสำคัญมาก และจะเป็นทางรอดของประเทศไทย เพราะจากนี้สุภาษิตตกปลาเป็นไม่พอแล้ว ทุกประเทศตกปลาเป็นหมด แต่สิ่งที่จะทำให้อยู่รอดคือ การสร้างมูลค่า ในมหาวิทยาลัยต้องสอนให้เพิ่มมูลค่า ถ้าศึกษาชีวิตของคนดังอย่าง สตีฟ จ๊อบ, บิล เกทส์ ,มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ล้วนไม่ได้เรียนตามปกติ แต่ชอบทำสิ่งที่ท้าทาย และมีโอกาสและจังหวะชีวิตที่ดี จังหวะชีวิตเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ละช่วงชีวิตจะมีคนที่เป็น Key person สร้างอะไรที่เป็นประโยชน์ การที่จะสร้างมูลค่าสิ่งใดได้เราจะต้องสร้างความเป็น Creative และจะต้องยืนให้ได้ด้วยตัวเอง

     


สำหรับผลงานวิจัยด้าน Creative Economy ของมหาวิทยาลัยมหิดล  อาทิ สุดสาครออเครสตร้า มหัศจรรย์หุ่นไม้จันทร์หอม แฮรี่พอตเตอร์ ออเครสตร้า โครงการอุทยานฯ เป็นต้น

   

ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า งานวิจัยด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในช่วง 2562-2563 เพิ่มขึ้นมาก ในปีนี้มีประมาณ 100 ผลงาน แต่มูลค่าไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์สามารถใช้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยอาศัยวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ที่มีเป็นทุนเดิม ซึ่งในปี 2565 ได้รับทุนวิจัยมุ่งเป้าทำวิจัย โดย รมว. อว. ให้แนวทางว่างานวิจัยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะต้องเกิดจากวัฒนธรรมที่เป็นความคิดขอ


งคนในท้องถิ่น เป็นความเชี่ยวชาญ สามารถบูรณาการได้ มีผู้วิจัยหลากหลายสาขา มีการขยายผลต่อยอดในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว มีการสร้างคุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่า แบ่งเป็น 4 กลุ่ม บวก1 ได้แก่ กลุ่มศิลปะและดนตรี กลุ่มสินค้า กลุ่มบริการสร้างสรรค์ กลุ่มสื่อสร้างสรรค์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

     


งานวิจัยเด่น อาทิ สามย่าน รถไฟสายประวัติศาสตร์ ลำพูน เชียงใหม่ การใช้พื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง The Gastronomy  อาหารไทยบนแพลตฟอร์ม กิจกรรมมวยไทยสำหรับชนทุกวัย ผลิตภัณฑ์สปา เป็นต้น

สิงหาคม 08, 2565   Posted by yaipearn in with No comments
Read More

Bookmark Us

Delicious Digg Facebook Favorites More Stumbleupon Twitter

Search